Tuesday, October 21, 2008

หน่วยการเรียน เรื่อง ไข่ วันที่ 11สิงหาคม - 15 สิงหาคม2551





ภาพที่ 1 ครูให้เด็กสัมผัสไข่ และบอกลักษณะของไข่ ว่าแข็งหรือนิ่ม เด็กบางคนไม่กล้าสัมผัสเพราะกลัวมันแตก






ภาพที่ 2 เด็กสังเกตไข่แต่ละฟองว่ามีความเหมือนและต่างกันอย่างไร เด็กให้ความสนใจและตอบคำถามของครู


ภาพที่ 3 ครูและเด็กสนทนาถึงรูปร่างลักษณะของไข่แต่ละฟองที่ครูนำมา มี ไข่เป็ด ไข่ไก่ ไข่เยี่ยวม้า ซึ่งไข่แต่ละฟองจะมีความเหมือนและแตกต่างกัน





ภาพที่ 4 การประกอบอาหาร ไข่อบเนย โดยครูให้เด็กออกมาปอกไข่ ซึ่งเด็กให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

ภาพที่ 5 สื่อการสอนเรื่องไข่ ซึ่งมีไข่ไก่ ไข่เป็ด ไข่เยี่ยวม้า ไข่นกกระทา และไข่ห่าน

ภาพที่ 6 สื่อการสอนเกี่ยวกับอาหารไข่ เช่น ไข่พะโล้ ไข่ลูกเขย ไข่เจียว และไข่ต้ม อาหารที่มีไข่ประกอบการทำ เช่น ขนมเค้ก
คุ๊กกี้





ภาพที่ 7 เกมการศึกษา คือ เกม จับคู่ภาพให้สมบูรณ์ วิธีการเล่น นำภาพแต่ละส่วนมาจับคู่กันให้เป็นภาพที่สมบูรณ์










แผนการจัดประสบการณ์ เรื่อง ไข่ วันที่ 1

วันที่ 1 กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
จุดประสงค์

1. เด็กสามารถเคลื่อนไหวแบบตามคำสั่งได้
2. เด็กสามารถเคลื่อนไหวตามจังหวะการเคาะของครู
3. เด็กเคลื่อนไหวร่างกายอย่างคล่องแคล่ว


เนื้อหา
1. การเคลื่อนไหวแบบ ทำตามคำสั่ง หมายถึง เด็กเคลื่อนไหวตามคำสั่งของครู เช่น สั่งให้จับคู่กัน สั่งให้หัวชนกัน
2. จังหวะการเคาะของครู

กิจกรรม
1. เด็กปฏิบัติกิจกรรมเคลื่อนไหวพื้นฐานโดยให้เคลื่อนไหวไปรอบๆ ห้องเมื่อได้ยินเสียงสัญญาณ หยุด ให้หยุดเคลื่อนไหวทันที
2. เด็กเคลื่อนไหวตามคำสั่งของครู โดยเคลื่อนไหวตามคำสั่งของครู เมื่อครูหยุดเคาะและสั่งให้เด็ก จับคู่กัน หัวชนกัน นอนจับมือกัน ไหล่ชนกัน เท้าชนกัน
3. เด็กหยุดพักผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

สื่อการเรียน
เครื่องกำกับจังหวะ แทมโบรีน

ประเมินผล
1. สังเกตการเคลื่อนไหวแบบตามคำสั่งได้
2. สังเกตการสามารถเคลื่อนไหวตามจังหวะการเคาะของครู
3. สังเกตการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างคล่องแคล่ว


วันที่ 1 กิจกรรมเสริมประสบการณ์
จุดประสงค์

1. เด็กสามารถบอกลักษณะของไข่
2. เด็กฟังและตอบคำถามของครูได้
3. เด็กสามารถอธิบายเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะของไข่แต่ละฟองได้

เนื้อหา
รูปร่างลักษณะของไข่จะมีความแตกต่างกัน เช่น ไข่ไก่ จะมีผิวสีเหลือง ไข่เป็ดจะมีผิวสีขาว ส่วนไข่นกกระทาจะมีขนาดเล็กและมีผิวขรุขระ

กิจกรรม
ขั้นนำ

1. ครูและเด็กร่วมกันเล่นเกม ไข่นั่ง ไข่ยืน โดยครูสั่งคำว่า ไข่นั่งหรือไข่ยืนให้ทำตามแต่ถ้าไม่พูดก็ไม่ต้องทำตาม

ขั้นสอน
1. ครูนำไข่จริงมาสนทนากับเด็ก โดยใช้คำถามดังนี้
“เด็กๆ รู้จักไข่อะไรบ้าง”
“ไข่ที่เด็กๆ รู้จักมีลักษณะอย่างไร”
“ไข่ที่ครูนำมาเหมือนหรือต่างอย่างไร”
2. ครูปอกไข่ให้เด็กดูมี ไข่ไก่ ไข่เป็ด ไข่เยี่ยวม้า

ขั้นสรุป
เด็กและครูร่วมกันสรุปถึงรูปร่างลักษณะของไข่

สื่อการเรียน
ไข่ไก่ ไข่เป็ด ไข่เยี่ยวม้า

ประเมินผล
1. สังเกตการบอกลักษณะของไข่
2. สังเกตการฟังและตอบคำถามของครู
3. สังเกตการอธิบายเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะของไข่แต่ละฟอง


วันที่ 1 กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
จุดประสงค์

1. เด็กสามารถสร้างสรรค์ผลงานศิลปะตามความคิดของตนเองได้
2. เด็กสามารถพัฒนากล้ามเนื้อเล็กโดยกิจกรรมการฝนสีบนเปลือกหอย
3. เด็กเลือกและลงมือปฏิบัติกิจกรรมตามความสนใจ
4. เด็กเล่าผลงานตามความคิดและจินตนาการได้
5. เด็กเก็บของเข้าที่

เนื้อหา
ความคิดละเอียดลออจากการต่อเติมภาพจากการฝนสีบนเปลือกหอย ความคิดริเริ่มในการฝนสีบนเปลือกหอย

กิจกรรม
1. ครูแนะนำและสาธิตวิธีการทำกิจกรรมใหม่ คือ การฝนสีบนเปลือกหอย
2. ครูและเด็กร่วมกันสร้างข้อตกลงก่อนการทำกิจกรรม
3. เด็กเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจ
4. เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรมตามที่เลือก
5. เด็กเล่าผลงานให้เพื่อนและครูฟัง
6. เด็กช่วยกันเก็บอุปกรณ์เข้าที่

สื่อการเรียน
1. ฝนสีบนเปลือกหอย
2. ปั้นแป้งโด
3. ปะติดเมล็ดพืช
4. ร้อยลูกปัด
5. การเป่าสี

ประเมินผล
1. สังเกตการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะตามความคิดของตนเอง
2. สังเกตการพัฒนากล้ามเนื้อเล็กโดยกิจกรรมการฝนสีบนเปลือกหอย
3. สังเกตการเลือกและลงมือปฏิบัติกิจกรรมตามความสนใจ
4. สังเกตการเล่าผลงานตามความคิดและจินตนาการได้
5. สังเกตการเก็บของเข้าที่

วันที่ 1 กิจกรรมเสรี
จุดประสงค์

1. เด็กฟังและทำกิจกรรมในมุมประสบการณ์ได้
2. เด็กเลือกเข้ามุมตามความสนใจ
3. เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองจากการสังเกต สำรวจ
4. เด็กสนทนาโต้ตอบกับเพื่อน
5. เด็กปฏิบัติตามข้อตกลงเมื่อได้ยินสัญญาณเตือนให้เปลี่ยนมุม
6. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่

เนื้อหา
1. มุมวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่ต้องการคือ การนำไข่ของจริงมาให้เด็กได้สัมผัส

กิจกรรม
1. เด็กและครูร่วมกันสร้างข้อตกลงก่อนการเล่น
- ไม่ส่งเสียงดัง
- เล่นเสร็จเก็บของเข้าที่
- แบ่งปันสิ่งของ
2. เด็กเลือกและทำกิจกรรมในมุมเสรีที่เลือก
3. ครูให้สัญญาณเตือนให้เด็กเปลี่ยนมุม
4. เด็กๆ ช่วยกันเก็บอุปกรณ์เข้าที่

สื่อการเรียน
1. มุมวิทยาศาสตร์
2. มุมหนังสือ
3. มุมตุ๊กตา
4. มุมดนตรี
5. มุมบล็อก

ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและทำกิจกรรมในมุมประสบการณ์
2. สังเกตการเลือกเข้ามุมตามความสนใจ
3. สังเกตการเรียนรู้ด้วยตนเองจากการสังเกต สำรวจ
4. สังเกตการสนทนาโต้ตอบกับเพื่อน
5. สังเกตการปฏิบัติตามข้อตกลงเมื่อได้ยินสัญญาณเตือนให้เปลี่ยนมุม
6. สังเกตการช่วยกันเก็บของเข้าที่

วันที่ 1 กิจกรรมกลางแจ้ง
จุดประสงค์

1. เด็กสามารถเคลื่อนไหวร่างกายอย่างคล่องแคล่ว
2. เด็กมีความสุขในการทำกิจกรรมการเล่นเกม
3. เด็กสามารถปฏิบัติตามข้อตกลงได้
4. เด็กสามารถทำความสะอาดร่างกายหลังจากการเล่นเกม

เนื้อหา
เกม มอญซ่อนผ้า

กิจกรรม
1. เด็กและครูร่วมกันสร้างข้อตกลงก่อนการเล่นเกม มอญซ่อนผ้า
2. ครูอธิบายและสาธิตวิธีการเล่น เกม มอญซ่อนผ้า
3. เด็กทดลองเล่นเกม มอญซ่อนผ้า
4. เด็กเล่นเกม มอญซ่อนผ้า ด้วยตนเอง
5. เด็กทำความสะอาดร่างกายหลังจากเล่นเกม มอญซ่อนผ้า


สื่อการเรียน
เกม มอญซ่อนผ้า

ประเมินผล
1. สังเกตการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างคล่องแคล่ว
2. สังเกตการมีความสุขในการทำกิจกรรมการเล่นเกม
3. สังเกตการปฏิบัติตามข้อตกลง
4. สังเกตการทำความสะอาดร่างกายหลังจากการเล่นเกม

วันที่ 1 กิจกรรมเกมการศึกษา
จุดประสงค์
1. เด็กตั้งใจฟังคำแนะนำในการเล่นเกมได้
2. เด็กสามารถเล่นเกมใหม่คือ เกม จับคู่ภาพให้สมบูรณ์
3. เด็กปฏิบัติตามข้อตกลง
4. เด็กรู้จักเอื้อเฟื้อและรอคอย
5. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่ได้

เนื้อหา
เกม จับคู่ภาพให้สมบูรณ์

กิจกรรม
1. ครูแนะนำและสาธิตการเล่นเกม จับคู่ภาพให้สมบูรณ์
2. แบ่งกลุ่มเด็กตามความสนใจ
3. เด็กแต่ละกลุ่มเล่นเกม จับคู่ภาพให้สมบูรณ์ และเกมที่เคยเล่นแล้ว
4. เด็กตรวจสอบความถูกต้องและผลัดเปลี่ยนกันเล่นเกม
5. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่

สื่อการเรียน

1. เกม จับคู่ภาพให้สมบูรณ์
2. เกมที่เคยเล่นแล้ว

ประเมินผล
1. สังเกตการตั้งใจฟังคำแนะนำในการเล่นเกม
2. สังเกตการเล่นเกมใหม่คือ เกม จับคู่ภาพให้สมบูรณ์
3. สังเกตการปฏิบัติตามข้อตกลง
4. สังเกตการรู้จักเอื้อเฟื้อและรอคอย
5. สังเกตการช่วยกันเก็บของเข้าที่


แผนการจัดประสบการณ์ เรื่อง ไข่ วันที่ 2


กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
จุดประสงค์

1. เด็กสามารถเป็นผู้นำ ผู้ตามในการทำกายบริหารได้
2. เด็กสามารถเคลื่อนไหวตามจังหวะการเคาะของครู
3. เด็กเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย


เนื้อหา
1. การเคลื่อนไหวแบบ ผู้นำ ผู้ตาม หมายถึง เด็กเป็นผู้นำกายบริหาร
2. จังหวะการเคาะของครู

กิจกรรม
1. เด็กปฏิบัติกิจกรรมเคลื่อนไหวพื้นฐานโดยให้เคลื่อนไหวไปรอบๆ ห้องเมื่อได้ยินเสียงสัญญาณ หยุด ให้หยุดเคลื่อนไหวทันที
2. เด็กเคลื่อนไหวเป็นผู้นำ ผู้ตามกายบริหาร
3. เด็กผลัดเปลี่ยนกันเป็นผู้นำ ผู้ตามจนครบทุกคน
4. เด็กหยุดพักผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

สื่อการเรียน
เครื่องกำกับจังหวะ แทมโบรีน

ประเมินผล
1. สังเกตการณ์เป็นผู้นำ ผู้ตามในการทำกายบริหาร
2. สังเกตการสามารถเคลื่อนไหวตามจังหวะการเคาะของครู
3. สังเกตการณ์เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย

วันที่ 2 กิจกรรมเสริมประสบการณ์
จุดประสงค์
1. เด็กสามารถบอกสัตว์ที่ออกลูกเป็นไข่ได้
2. เด็กฟังและตอบคำถามของครูได้
3. เด็กสนทนาโต้ตอบร่วมกับเพื่อนและครูได้

เนื้อหา
สัตว์ที่ออกลูกเป็นไข่ ได้แก่ เป็ด ไก่ งู จระเข้ ตุ๊กแก นกกระทา เต่า เป็นต้น

กิจกรรม
ขั้นนำ

1. ครูเล่านิทานประกอบมือเรื่อง ไข่ใบน้อย ให้เด็กฟัง

ขั้นสอน
1. ครูและเด็กสนทนาประกอบภาพสัตว์ที่ออกลูกเป็นไข่
“ สิ่งที่อยู่ในภาพคืออะไร”
“เด็กๆคิดว่าสัตว์อะไรบ้างที่ออกลูกเป็นไข่
2. ครูให้เด็กออกมาเขียนคำว่า ไข่ หรือวาดภาพสัตว์ที่ออกลูกเป็นไข่

ขั้นสรุป
เด็กและครูร่วมกันสรุปถึงสัตว์ที่ออกลูกเป็นไข่

สื่อการเรียน
ไข่ไก่ ไข่เป็ด ไข่นกกระทา

ประเมินผล

1. สังเกตการบอกสัตว์ที่ออกลูกเป็นไข่
2. สังเกตการฟังและตอบคำถามของครู
3. สังเกตการสนทนาโต้ตอบร่วมกับเพื่อนและครู


วันที่ 2 กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
จุดประสงค์
1. เด็กสามารถสร้างสรรค์ผลงานศิลปะตามความคิดของตนเองได้
2. เด็กสามารถพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่โดยกิจกรรมการ ทำโมบายไข่
3. เด็กเลือกและลงมือปฏิบัติกิจกรรมตามความสนใจ
4. เด็กเล่าผลงานตามความคิดและจินตนาการได้
5. เด็กเก็บของเข้าที่

เนื้อหา
ความคิดริเริ่มในการประดิษฐ์สิ่งที่แปลกใหม่ ความคิดละเอียดละออจากการที่เด็กตกแต่งผลงานลงบนไข่

กิจกรรม
1. ครูแนะนำและสาธิตวิธีการทำกิจกรรมใหม่ คือ การทำโมบายไข่
2. ครูและเด็กร่วมกันสร้างข้อตกลงก่อนการทำกิจกรรม
3. เด็กเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจ
4. เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรมตามที่เลือก
5. เด็กเล่าผลงานให้เพื่อนและครูฟัง
6. เด็กช่วยกันเก็บอุปกรณ์เข้าที่

สื่อการเรียน
1. ทำโมบายไข่
2. ปั้นแป้งโด
3. ปะติดเมล็ดพืช
4. ร้อยลูกปัด
5. การเป่าสี

ประเมินผล
1. สังเกตการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะตามความคิดของตนเอง
2. สังเกตการพัฒนากล้ามเนื้อเล็กโดยกิจกรรมการทำโมบายไข่
3. สังเกตการเลือกและลงมือปฏิบัติกิจกรรมตามความสนใจ
4. สังเกตการเล่าผลงานตามความคิดและจินตนาการได้
5. สังเกตการเก็บของเข้าที่


วันที่ 2 กิจกรรมเสรี
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและทำกิจกรรมในมุมประสบการณ์ได้
2. เด็กเลือกเข้ามุมตามความสนใจ
3. เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองจากการสังเกต สำรวจ
4. เด็กสนทนาโต้ตอบกับเพื่อน
5. เด็กปฏิบัติตามข้อตกลงเมื่อได้ยินสัญญาณเตือนให้เปลี่ยนมุม
6. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่

เนื้อหา
1. มุมวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่ต้องการคือ การนำไข่ของจริงมาให้เด็กได้สัมผัส

กิจกรรม
1. เด็กและครูร่วมกันสร้างข้อตกลงก่อนการเล่น
- ไม่ส่งเสียงดัง
- เล่นเสร็จเก็บของเข้าที่
- แบ่งปันสิ่งของ
2. เด็กเลือกและทำกิจกรรมในมุมเสรีที่เลือก
3. ครูให้สัญญาณเตือนให้เด็กเปลี่ยนมุม
4. เด็กๆ ช่วยกันเก็บอุปกรณ์เข้าที่

สื่อการเรียน
1. มุมวิทยาศาสตร์
2. มุมหนังสือ
3. มุมตุ๊กตา
4. มุมดนตรี
5. มุมบล็อก

ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและทำกิจกรรมในมุมประสบการณ์
2. สังเกตการเลือกเข้ามุมตามความสนใจ
3. สังเกตการเรียนรู้ด้วยตนเองจากการสังเกต สำรวจ
4. สังเกตการสนทนาโต้ตอบกับเพื่อน
5. สังเกตการปฏิบัติตามข้อตกลงเมื่อได้ยินสัญญาณเตือนให้เปลี่ยนมุม
6. สังเกตการช่วยกันเก็บของเข้าที่


วันที่ 2 กิจกรรมกลางแจ้ง
จุดประสงค์
1. เด็กสามารถเคลื่อนไหวร่างกายอย่างคล่องแคล่ว
2. เด็กมีความสุขในการทำกิจกรรมการเล่นห้องนิ่ม
3. เด็กสามารถปฏิบัติตามข้อตกลงได้
4. เด็กสามารถทำความสะอาดร่างกายหลังจากการเล่นห้องนิ่ม

เนื้อหา
ห้องนิ่ม

กิจกรรม
1. เด็กและครูร่วมกันสร้างข้อตกลงก่อนการเล่น ห้องนิ่ม
2. เด็กเล่นห้องนิ่ม
3. ครูคอยดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด
4. เด็กทำความสะอาดร่างกายหลังจากเล่นห้องนิ่ม


สื่อการเรียน
ห้องนิ่ม

ประเมินผล
1. สังเกตการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างคล่องแคล่ว
2. สังเกตการมีความสุขในการทำกิจกรรมการเล่นห้องนิ่ม
3. สังเกตการปฏิบัติตามข้อตกลง
4. สังเกตการทำความสะอาดร่างกายหลังจากการเล่นห้องนิ่ม


กิจกรรมเกมการศึกษา
จุดประสงค์
1. เด็กตั้งใจฟังคำแนะนำในการเล่นเกมได้
2. เด็กสามารถเล่นเกมใหม่คือ เกม จับคู่ภาพเหมือน
3. เด็กปฏิบัติตามข้อตกลง
4. เด็กรู้จักเอื้อเฟื้อและรอคอย
5. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่ได้

เนื้อหา
เกม จับคู่ภาพเหมือน

กิจกรรม
1. ครูแนะนำและสาธิตการเล่นเกม จับคู่ภาพเหมือน
2. แบ่งกลุ่มเด็กตามความสนใจ
3. เด็กแต่ละกลุ่มเล่นเกม จับคู่ภาพเหมือน และเกมที่เคยเล่นแล้ว
4. เด็กตรวจสอบความถูกต้องและผลัดเปลี่ยนกันเล่นเกม
5. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่

สื่อการเรียน
1. เกม จับคู่ภาพเหมือน
2. เกมที่เคยเล่นแล้ว

ประเมินผล
1. สังเกตการตั้งใจฟังคำแนะนำในการเล่นเกม
2. สังเกตการเล่นเกมใหม่คือ เกม จับคู่ภาพเหมือน
3. สังเกตการปฏิบัติตามข้อตกลง
4. สังเกตการรู้จักเอื้อเฟื้อและรอคอย
5. สังเกตการช่วยกันเก็บของเข้าที่


แผนการจัดประสบการณ์ เรื่อง ไข่ วันที่ 3

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
จุดประสงค์

1. เด็กสามารถเคลื่อนไหวประกอบเพลงได้
2. เด็กฟังและปฏิบัติตามสัญญาณ
3. เด็กเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย


เนื้อหา
1. การเคลื่อนไหวประกอบเพลง ไข่

กิจกรรม
1. เด็กปฏิบัติกิจกรรมเคลื่อนไหวพื้นฐานโดยให้เคลื่อนไหวไปรอบๆ ห้องเมื่อได้ยินเสียงสัญญาณ หยุด ให้หยุดเคลื่อนไหวทันที
2. เด็กและครูร่วมกันร้องเพลงพร้อมทั้งทำท่าทางประกอบเพลง
3. เด็กหยุดพักผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
สื่อการเรียน
เครื่องกำกับจังหวะ แทมโบรีน

ประเมินผล
1. สังเกตการเคลื่อนไหวประกอบเพลงได้
2. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามสัญญาณ
3. สังเกตการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย

วันที่ 3 กิจกรรมเสริมประสบการณ์
จุดประสงค์

1. เด็กสามารถบอกประโยชน์ของไข่ได้
2. เด็กฟังและตอบคำถามของครูได้
3. เด็กสนทนาโต้ตอบร่วมกับเพื่อนและครูได้

เนื้อหา
ไข่มีประโยชน์ คือ ไข่ขาวจะมีโปรตีน ไข่แดงจะมีไขมัน วิตามินและเกลือแร่

กิจกรรม
ขั้นนำ
1. ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลง ไข่ พร้อมทั้งทำท่าทางประกอบเพลงตามจินตนาการ

ขั้นสอน
1. ครูและเด็กสนทนาถึงประโยชน์ของไข่ โดยครูปอกไข่ให้เด็กดูข้างใน
“ ไข่ที่เด็กเห็นมีความเหมือนและต่างกันหรือไม่”
“ไข่มีประโยชน์อย่างไรบ้าง”
“เด็กๆทราบได้อย่างไร”

ขั้นสรุป
เด็กและครูร่วมกันสรุปถึง ประโยชน์ของไข่

สื่อการเรียน
1. เพลง ไข่
2. ไข่ไก่ ไข่เป็ด ไข่นกกระทา ไข่เยี่ยวม้า

ประเมินผล
1. สังเกตการบอกประโยชน์ของไข่
2. สังเกตการฟังและตอบคำถามของครู
3. สังเกตการสนทนาโต้ตอบร่วมกับเพื่อนและครู


วันที่ 3 กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
จุดประสงค์
1. เด็กสามารถสร้างสรรค์ผลงานศิลปะตามความคิดของตนเองได้
2. เด็กสามารถพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่โดยกิจกรรมการ ปะติดเปลือกไข่
3. เด็กเลือกและลงมือปฏิบัติกิจกรรมตามความสนใจ
4. เด็กเล่าผลงานตามความคิดและจินตนาการได้
5. เด็กเก็บของเข้าที่

เนื้อหา
ความคิดริเริ่มในการสร้างภาพจากการปะติดเปลือกไข่ ความคิดละเอียดลออจากการที่เด็กได้ปะติดเปลือกเป็นรูปภาพ

กิจกรรม
1. ครูแนะนำและสาธิตวิธีการทำกิจกรรมใหม่ คือ การปะติดเปลือกไข่
2. ครูและเด็กร่วมกันสร้างข้อตกลงก่อนการทำกิจกรรม
3. เด็กเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจ
4. เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรมตามที่เลือก
5. เด็กเล่าผลงานให้เพื่อนและครูฟัง
6. เด็กช่วยกันเก็บอุปกรณ์เข้าที่

สื่อการเรียน
1. ปะติดเปลือกไข่
2. ปั้นแป้งโด
3. วาดภาพบนกระดาษทราย
4. ร้อยลูกปัด

ประเมินผล

1. สังเกตการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะตามความคิดของตนเอง
2. สังเกตการพัฒนากล้ามเนื้อเล็กโดยกิจกรรมการปะติดเปลือกไข่
3. สังเกตการเลือกและลงมือปฏิบัติกิจกรรมตามความสนใจ
4. สังเกตการเล่าผลงานตามความคิดและจินตนาการได้
5. สังเกตการเก็บของเข้าที่
วันที่ 3 กิจกรรมเสรี
จุดประสงค์

1. เด็กฟังและทำกิจกรรมในมุมประสบการณ์ได้
2. เด็กเลือกเข้ามุมตามความสนใจ
3. เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองจากการสังเกต สำรวจ
4. เด็กสนทนาโต้ตอบกับเพื่อน
5. เด็กปฏิบัติตามข้อตกลงเมื่อได้ยินสัญญาณเตือนให้เปลี่ยนมุม
6. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่

เนื้อหา
1. มุมวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่ต้องการคือ การนำไข่ของจริงมาให้เด็กได้สัมผัส

กิจกรรม
1. เด็กและครูร่วมกันสร้างข้อตกลงก่อนการเล่น
- ไม่ส่งเสียงดัง
- เล่นเสร็จเก็บของเข้าที่
- แบ่งปันสิ่งของ
2. เด็กเลือกและทำกิจกรรมในมุมเสรีที่เลือก
3. ครูให้สัญญาณเตือนให้เด็กเปลี่ยนมุม
4. เด็กๆ ช่วยกันเก็บอุปกรณ์เข้าที
สื่อการสอน
1.มุมวิทยาศาสตร์
2. มุมหนังสือ
3.มุมตุ๊กตา
4. มุมดนตรี
5. มุมบล็อก

ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและทำกิจกรรมในมุมประสบการณ์
2. สังเกตการเลือกเข้ามุมตามความสนใจ
3. สังเกตการเรียนรู้ด้วยตนเองจากการสังเกต สำรวจ
4. สังเกตการสนทนาโต้ตอบกับเพื่อน
5. สังเกตการปฏิบัติตามข้อตกลงเมื่อได้ยินสัญญาณเตือนให้เปลี่ยนมุม
6. สังเกตการช่วยกันเก็บของเข้าที่

วันที่ 3 กิจกรรมกลางแจ้ง
จุดประสงค์

1. เด็กสามารถเคลื่อนไหวร่างกายอย่างคล่องแคล่ว
2. เด็กมีความสุขในการทำกิจกรรมการเล่นเกม
3. เด็กสามารถปฏิบัติตามข้อตกลงได้
4. เด็กสามารถทำความสะอาดร่างกายหลังจากการเล่นเกม

เนื้อหา
ห้องนิ่ม

กิจกรรม
1. เด็กและครูร่วมกันสร้างข้อตกลงก่อนการเล่น ห้องนิ่ม
2. เด็กเล่นห้องนิ่ม
3. ครูคอยดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด
4. เด็กทำความสะอาดร่างกายหลังจากเล่น


สื่อการเรียน
ห้องนิ่ม

ประเมินผล
1. สังเกตการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างคล่องแคล่ว
2. สังเกตการมีความสุขในการทำกิจกรรมการเล่นเกม
3. สังเกตการปฏิบัติตามข้อตกลง
4. สังเกตการทำความสะอาดร่างกายหลังจากการเล่นเกม


วันที่ 3 กิจกรรมเกมการศึกษา
จุดประสงค์
1. เด็กตั้งใจฟังคำแนะนำในการเล่นเกมได้
2. เด็กสามารถเล่นเกมใหม่คือ เกม จับคู่ภาพกับเงา
3. เด็กปฏิบัติตามข้อตกลง
4. เด็กรู้จักเอื้อเฟื้อและรอคอย
5. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่ได้

เนื้อหา
เกม จับคู่ภาพกับเงา

กิจกรรม
1. ครูแนะนำและสาธิตการเล่นเกม จับคู่ภาพกับเงา
2. แบ่งกลุ่มเด็กตามความสนใจ
3. เด็กแต่ละกลุ่มเล่นเกม จับคู่ภาพกับเงา และเกมที่เคยเล่นแล้ว
4. เด็กตรวจสอบความถูกต้องและผลัดเปลี่ยนกันเล่นเกม
5. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่

สื่อการเรียน
1. เกม จับคู่ภาพกับเงา
2. เกมที่เคยเล่นแล้ว

ประเมินผล
1. สังเกตการตั้งใจฟังคำแนะนำในการเล่นเกม
2. สังเกตการเล่นเกมใหม่คือ เกม จับคู่ภาพกับเงา
3. สังเกตการปฏิบัติตามข้อตกลง
4. สังเกตการรู้จักเอื้อเฟื้อและรอคอย
5. สังเกตการช่วยกันเก็บของเข้าที่


แผนการจัดประสบการณ์ เรื่อง ไข่ วันที่ 4

วันที่ 4 กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
1. เด็กสามารถเคลื่อนไหวประกอบผ้าเช็ดหน้าได้
2. เด็กสามารถเคลื่อนไหวตามจังหวะการเคาะของครู
3. เด็กเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย


เนื้อหา
1. การเคลื่อนไหวประกอบผ้าเช็ดหน้า
2. จังหวะการเคาะของครู

กิจกรรม
1. เด็กปฏิบัติกิจกรรมเคลื่อนไหวพื้นฐานโดยการกลิ้งตัว กระโดด เขย่งปลายเท้า นอน ลุก นั่ง เดินไปรอบๆ ห้อง
2. เด็กเคลื่อนไหวประกอบกับช้าเช็ดหน้าตามจังหวะการเคาะของครู
3. เด็กหยุดพักผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

สื่อการเรียน
1. เครื่องกำกับจังหวะ แทมโบรีน
2. ผ้าเช็ดหน้า

ประเมินผล
1. สังเกตการเคลื่อนไหวประกอบผ้าเช็ดหน้า
2. สังเกตการสามารถเคลื่อนไหวตามจังหวะการเคาะของครู
3. สังเกตการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย


วันที่ 4 กิจกรรมเสริมประสบการณ์
จุดประสงค์
1. เด็กสามารถบอกอาหารที่ทำจากไข่ได้
2. เด็กฟังและตอบคำถามของครูได้
3. เด็กสนทนาโต้ตอบร่วมกับเพื่อนและครูได้

เนื้อหา
อาหารที่ทำจากไข่ ได้แก่ ไข่เจียว ไข้ต้ม ไข่พะโล้ ไข่ตุ๋น ไข่ลูกเขย ไข่ดาว เป็นต้น

กิจกรรม
ขั้นนำ

1. ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลง ไข่ พร้อมทั้งทำท่าทางประกอบเพลง

ขั้นสอน
1. ครูและเด็กสนทนาประกอบภาพอาหารที่ทำจากไข่ โดยใช้คำถามดังนี้
“ภาพที่เด็กๆ เห็นคือภาพอะไร”
“ภาพนี้ทำมาจากอะไร”
“นอกจากภาพที่ครูนำมามีภาพอะไรอีกที่ทำมาจากไข่”

ขั้นสรุป
เด็กและครูร่วมกันสรุปถึงอาหารที่ทำจากไข่

สื่อการเรียน
1. เพลง ไข่
2. ภาพไข่เจียว
3. ภาพไข่พะโล้

ประเมินผล
1. สังเกตการบอกอาหารที่ทำจากไข่
2. สังเกตการฟังและตอบคำถามของครู
3. สังเกตการสนทนาโต้ตอบร่วมกับเพื่อนและครู

วันที่ 4 กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
จุดประสงค์

1. เด็กสามารถสร้างสรรค์ผลงานศิลปะตามความคิดของตนเองได้
2. เด็กสามารถพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่โดยกิจกรรมการ กลิ้งสีด้วยลูกแก้ว
3. เด็กเลือกและลงมือปฏิบัติกิจกรรมตามความสนใจ
4. เด็กเล่าผลงานตามความคิดและจินตนาการได้
5. เด็กเก็บของเข้าที่

เนื้อหา
ความคิดริเริ่มในการสร้างผลงานที่แปลกใหม่ ความคิดยึดหยุ่นในการมองภาพการกลิ้งสีของเด็ก

กิจกรรม
1. ครูแนะนำและสาธิตวิธีการทำกิจกรรมใหม่ คือ การกลิ้งสีด้วยลูกแก้ว
2. ครูและเด็กร่วมกันสร้างข้อตกลงก่อนการทำกิจกรรม
3. เด็กเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจ
4. เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรมตามที่เลือก
5. เด็กเล่าผลงานให้เพื่อนและครูฟัง
6. เด็กช่วยกันเก็บอุปกรณ์เข้าที่

สื่อการเรียน
1. การกลิ้งสีด้วยลูกแก้ว
2. ปั้นแป้งโด
3. โรยเกลือสี
4. ร้อยลูกปัด
5. วาดภาพสีเทียน

ประเมินผล
1. สังเกตการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะตามความคิดของตนเอง
2. สังเกตการพัฒนากล้ามเนื้อเล็กโดยกิจกรรมการกลิ้งสีด้วยลูกแก้ว
3. สังเกตการเลือกและลงมือปฏิบัติกิจกรรมตามความสนใจ
4. สังเกตการเล่าผลงานตามความคิดและจินตนาการได้
5. สังเกตการเก็บของเข้าที่

วันที่ 4 กิจกรรมเสรี
จุดประสงค์

1. เด็กฟังและทำกิจกรรมในมุมประสบการณ์ได้
2. เด็กเลือกเข้ามุมตามความสนใจ
3. เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองจากการสังเกต สำรวจ
4. เด็กสนทนาโต้ตอบกับเพื่อน
5. เด็กปฏิบัติตามข้อตกลงเมื่อได้ยินสัญญาณเตือนให้เปลี่ยนมุม
6. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่

เนื้อหา
1. มุมวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่ต้องการคือ การนำไข่ของจริงมาให้เด็กได้สัมผัส

กิจกรรม
1. เด็กและครูร่วมกันสร้างข้อตกลงก่อนการเล่น
- ไม่ส่งเสียงดัง
- เล่นเสร็จเก็บของเข้าที่
- แบ่งปันสิ่งของ
2. เด็กเลือกและทำกิจกรรมในมุมเสรีที่เลือก
3. ครูให้สัญญาณเตือนให้เด็กเปลี่ยนมุม
4. เด็กๆ ช่วยกันเก็บอุปกรณ์เข้าที่

สื่อการเรียน
1. มุมวิทยาศาสตร์
2. มุมหนังสือ
3. มุมตุ๊กตา
4. มุมดนตรี
5. มุมบล็อก

ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและทำกิจกรรมในมุมประสบการณ์
2. สังเกตการเลือกเข้ามุมตามความสนใจ
3. สังเกตการเรียนรู้ด้วยตนเองจากการสังเกต สำรวจ
4. สังเกตการสนทนาโต้ตอบกับเพื่อน
5. สังเกตการปฏิบัติตามข้อตกลงเมื่อได้ยินสัญญาณเตือนให้เปลี่ยนมุม
6. สังเกตการช่วยกันเก็บของเข้าที่

วันที่ 4 กิจกรรมกลางแจ้ง
จุดประสงค์

1. เด็กบอกข้อตกลงในการเล่นเครื่องเล่นสนามได้
2. เด็กใช้กล้ามเนื้อใหญ่และเล็กในการเล่นเกมกลางแจ้ง
3. เด็กเรียนรู้การระวังรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น
4. เด็กตัดสินใจแก้ปัญหาด้วยตนเอง

เนื้อหา
1. พัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ แขน ขา มือ ในการเล่นเครื่องเล่นสนาม
2. พัฒนาทางด้านอารมณ์ โดยเด็กเล่นร่วมกับเพื่อนและมีความสุขในการทำกิจกรรม

กิจกรรม
1. เด็กเตรียมอบอุ่นร่างกายก่อนการเล่น เครื่องเล่นสนาม
2. เด็กและครูร่วมกันสร้างข้อตกลงก่อนการเล่น เครื่องเล่นสนาม
3. เด็กเล่นเครื่องเล่นสนาม
4. เด็กทำความสะอาดร่างกายหลังจากเล่น

สื่อการเรียน
เครื่องเล่นสนาม

ประเมินผล
1. สังเกตการบอกข้อตกลงในการเล่นเครื่องเล่นสนาม
2. สังเกตการ ใช้กล้ามเนื้อใหญ่และเล็กในการเล่นเครื่องเล่นสนาม
3. สังเกตการเรียนรู้การระวังรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น
4. สังเกตการตัดสินใจแก้ปัญหาด้วยตนเอง


วันที่ 4 กิจกรรมเกมการศึกษา
จุดประสงค์

1. เด็กตั้งใจฟังคำแนะนำในการเล่นเกมได้
2. เด็กสามารถเล่นเกมใหม่คือ เกม อนุกรม
3. เด็กปฏิบัติตามข้อตกลง
4. เด็กรู้จักเอื้อเฟื้อและรอคอย
5. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่ได้

เนื้อหา
เกม อนุกรม

กิจกรรม
1. ครูแนะนำและสาธิตการเล่นเกม อนุกรม
2. แบ่งกลุ่มเด็กตามความสนใจ
3. เด็กแต่ละกลุ่มเล่นเกม อนุกรม และเกมที่เคยเล่นแล้ว
4. เด็กตรวจสอบความถูกต้องและผลัดเปลี่ยนกันเล่นเกม
5. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่

สื่อการเรียน

1. เกม อนุกรม
2. เกมที่เคยเล่นแล้ว

ประเมินผล
1. สังเกตการตั้งใจฟังคำแนะนำในการเล่นเกม
2. สังเกตการเล่นเกมใหม่คือ เกม อนุกรม
3. สังเกตการปฏิบัติตามข้อตกลง
4. สังเกตการรู้จักเอื้อเฟื้อและรอคอย
5. สังเกตการช่วยกันเก็บของเข้าที่


แผนการจัดประสบการณ์ เรื่อง ไข่ วันที่ 5

วันที่ 5 กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
จุดประสงค์

1. เด็กสามารถเคลื่อนไหวเลียนแบบท่าทางสัตว์ได้
2. เด็กฟังและปฏิบัติตามสัญญาณ
3. เด็กเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย

เนื้อหา
1. การเคลื่อนไหวเลียนแบบท่าทางสัตว์
2. จังหวะ ช้า,เร็ว

กิจกรรม
1. เด็กปฏิบัติกิจกรรมเคลื่อนไหวพื้นฐานโดยให้เคลื่อนไหวไปรอบๆ ห้องเมื่อได้ยินเสียงสัญญาณ หยุด ให้หยุดเคลื่อนไหวทันที
2. เด็กและครูเคลื่อนไหวประกอบผ้าเช็ดหน้า
3. เด็กหยุดพักผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
สื่อการเรียน
เครื่องกำกับจังหวะ กลอง

ประเมินผล
1. สังเกตการเคลื่อนไหวประกอบการเลียนแบบท่าทางสัตว์
2. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามสัญญาณ
3. สังเกตการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย


วันที่ 5 กิจกรรมเสริมประสบการณ์
จุดประสงค์

1. เด็กฟังและปฏิบัติตามข้อตกลงได้
2. เด็กฟังและตอบคำถามของครูได้
3. เด็กสนทนาโต้ตอบร่วมกับเพื่อนและครูได้

เนื้อหา
การทำอาหาร ไข่อบเนย

กิจกรรม
ขั้นสอน
1. ครูและเด็กทบทวนแผ่นวางแผนและสร้างข้อตกลงกับเด็ก
2. ครูแนะนำอุปกรณ์ในการในการทำไข่อบเนย
3. ครูและเด็กร่วมกันทำไข่อบเนย
4. เด็กและครูร่วมกันรับประทานไข่อบเนย
5. เด็กและครูช่วยกันเก็บอุปกรณ์


สื่อการเรียน
1. เครื่องทำไข่
2. ไข่
3. ช้อน
4. ถ้วย

ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามข้อตกลง
2. สังเกตการฟังและตอบคำถามของครู
3. สังเกตการสนทนาโต้ตอบร่วมกับเพื่อนและครู


กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
จุดประสงค์
1. เด็กสามารถสร้างสรรค์ผลงานศิลปะตามความคิดของตนเองได้
2. เด็กสามารถพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่โดยกิจกรรมการปะติดเศษดินสอ
3. เด็กเลือกและลงมือปฏิบัติกิจกรรมตามความสนใจ
4. เด็กเล่าผลงานตามความคิดและจินตนาการได้
5. เด็กเก็บของเข้าที่

เนื้อหา
ความคิดริเริ่มในการสร้างภาพจากการปะติดเศษดินสอ ความคิดละเอียดลออจากการที่เด็กได้ปะติดเศษดินสอเป็นรูปภาพต่างๆ ตามจินตนาการ

กิจกรรม
1. ครูแนะนำและสาธิตวิธีการทำกิจกรรมใหม่ คือ การปะติดเศษดินสอ
2. ครูและเด็กร่วมกันสร้างข้อตกลงก่อนการทำกิจกรรม
3. เด็กเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจ
4. เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรมตามที่เลือก
5. เด็กเล่าผลงานให้เพื่อนและครูฟัง
6. เด็กช่วยกันเก็บอุปกรณ์เข้าที่

สื่อการเรียน
1. ปะติดเศษดินสอ
2. ปั้นแป้งโด
3. การเป่าสี
4. ร้อยลูกปัด
5. วาดภาพสีเทียน

ประเมินผล
1. สังเกตการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะตามความคิดของตนเอง
2. สังเกตการพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่โดยกิจกรรมการปะติดเศษดินสอ
3. สังเกตการเลือกและลงมือปฏิบัติกิจกรรมตามความสนใจ
4. สังเกตการเล่าผลงานตามความคิดและจินตนาการได้
5. สังเกตการเก็บของเข้าที่

วันที่ 5 กิจกรรมเสรี
จุดประสงค์
1. เด็กฟังและทำกิจกรรมในมุมประสบการณ์ได้
2. เด็กเลือกเข้ามุมตามความสนใจ
3. เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองจากการสังเกต สำรวจ
4. เด็กสนทนาโต้ตอบกับเพื่อน
5. เด็กปฏิบัติตามข้อตกลงเมื่อได้ยินสัญญาณเตือนให้เปลี่ยนมุม
6. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่

เนื้อหา
1. มุมวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่ต้องการคือ การนำไข่ของจริงมาให้เด็กได้สัมผัส

กิจกรรม
1. เด็กและครูร่วมกันสร้างข้อตกลงก่อนการเล่น
- ไม่ส่งเสียงดัง
- เล่นเสร็จเก็บของเข้าที่
- แบ่งปันสิ่งของ
2. เด็กเลือกและทำกิจกรรมในมุมเสรีที่เลือก
3. ครูให้สัญญาณเตือนให้เด็กเปลี่ยนมุม
4. เด็กๆ ช่วยกันเก็บอุปกรณ์เข้าที่

สื่อการเรียน
1. มุมวิทยาศาสตร์
2. มุมหนังสือ
3. มุมตุ๊กตา
4. มุมดนตรี
5. มุมบล็อก

ประเมินผล
1. สังเกตการฟังและทำกิจกรรมในมุมประสบการณ์
2. สังเกตการเลือกเข้ามุมตามความสนใจ
3. สังเกตการเรียนรู้ด้วยตนเองจากการสังเกต สำรวจ
4. สังเกตการสนทนาโต้ตอบกับเพื่อน
5. สังเกตการปฏิบัติตามข้อตกลงเมื่อได้ยินสัญญาณเตือนให้เปลี่ยนมุม
6. สังเกตการช่วยกันเก็บของเข้าที่


วันที่ 5 กิจกรรมกลางแจ้ง
จุดประสงค์

1. เด็กสามารถเคลื่อนไหวร่างกายอย่างคล่องแคล่ว
2. เด็กมีความสุขในการทำกิจกรรมการเล่นเกม เก็บไข่ใส่ตะกร้า
3. เด็กสามารถปฏิบัติตามข้อตกลงได้
4. เด็กสามารถทำความสะอาดร่างกายหลังจากการเล่นเกม

เนื้อหา
1. พัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ แขน ขา โดยการเล่นเกม เก็บไข่ใส่ตะกร้า
2. พัฒนาอารมณ์และสังคมโดยการเล่นร่วมกับเพื่อน ความสามัคคี การรอคอย

กิจกรรม
1. เด็กและครูร่วมกันสร้างข้อตกลงก่อนการเล่นเกม เก็บไข่ใส่ตะกร้า
2. ครูอธิบายและสาธิตวิธีการเล่น เกม เก็บไข่ใส่ตะกร้า
3. เด็กทดลองเล่นเกม เก็บไข่ใส่ตะกร้า
4. เด็กเล่นเกม เก็บไข่ใส่ตะกร้า ด้วยตนเอง
5. เด็กทำความสะอาดร่างกายหลังจากเล่นเกม เก็บไข่ใส่ตะกร้า


สื่อการเรียน
เกม เก็บไข่ใส่ตะกร้า

ประเมินผล
1. สังเกตการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างคล่องแคล่ว
2. สังเกตการมีความสุขในการทำกิจกรรมการเล่นเกม
3. สังเกตการปฏิบัติตามข้อตกลง
4. สังเกตการทำความสะอาดร่างกายหลังจากการเล่นเกม


วันที่ 5 กิจกรรมเกมการศึกษา
จุดประสงค์

1. เด็กตั้งใจฟังคำแนะนำในการเล่นเกมได้
2. เด็กสามารถเล่นเกมใหม่คือ เกม ร้อยเชือกรูปไข่
3. เด็กปฏิบัติตามข้อตกลง
4. เด็กรู้จักเอื้อเฟื้อและรอคอย
5. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่ได้

เนื้อหา
เกม ร้อยเชือกรูปไข่

กิจกรรม
1. ครูแนะนำและสาธิตการเล่นเกม ร้อยเชือกรูปไข่
2. แบ่งกลุ่มเด็กตามความสนใจ
3. เด็กแต่ละกลุ่มเล่นเกม ร้อยเชือกรูปไข่ และเกมที่เคยเล่นแล้ว
4. เด็กตรวจสอบความถูกต้องและผลัดเปลี่ยนกันเล่นเกม
5. เด็กช่วยกันเก็บของเข้าที่

สื่อการสอน
1. เกม ร้อยเชือกรูปไข่
2. เกมที่เคยเล่นแล้ว

ประเมินผล
1. สังเกตการตั้งใจฟังคำแนะนำในการเล่นเกม
2. สังเกตการเล่นเกมใหม่คือ เกม ร้อยเชือกรูปไข่
3. สังเกตการปฏิบัติตามข้อตกลง
4. สังเกตการรู้จักเอื้อเฟื้อและรอคอย
5. สังเกตการช่วยกันเก็บของเข้าที่








1 comment:

NITTAYA said...

เนื้อหาดีมากเหมาะสมกับการจัดประสบการณ์ในการเรียนรู้